เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาคโธ ได้แก่ เป็นใหญ่แห่งชาวแคว้น
มคธ.
บทว่า เสนิโย ได้แก่ ผู้ถึงพร้องด้วยเสนา.
คำว่า พิมฺพิสาโร เป็นพระนามาภิไธย ของพระราชาพระองค์นั้น.
บทว่า ปพฺพาเชติ วา มีความว่า ทรงให้ออกไปเสียจากแว่นแคว้น.
บทที่เหลือในคำนี้ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.
สองบทว่า ปญฺจมาสโก ปาโท ความว่า ครั้งนั้น ในกรุงราชคฤห์
20 มาสก เป็นหนึ่งกหาปณะ ; เพราะฉะนั้น ห้ามาสกจึงเป็นหนึ่งบาท. ด้วย
ลักษณะนั้น ส่วนที่สี่ของกหาปณะพึงทราบว่า เป็นบาทหนึ่ง ในชนบททั้งปวง.
ก็บาทนั้นแล พึงทราบด้วยอำนาจแห่งนีลกหาปณะของโบราณ ไม่พึงทราบ
ด้วยอำนาจแห่งกหาปณะ นอกนี้ มีรุทระทามกะกหาปณะเป็นต้น.

[

พระพุทธเจ้าทุกองค์ปรับโทษถึงที่สุดเพียงบาทเดียว

]
แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ล่วงไปแล้ว ก็ทรงบัญญัติปาราชิกด้วยบาท
นั้น ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่จะมีในอนาคต ก็จักทรงบัญญัติปาราชิกด้วย
บาทนั้น. จริงอยู่ ความเป็นต่างกัน ในวัตถุปาราชิกหรือในปาราชิก ของ
พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ย่อมไม่มี. วัตถุแห่งปาราชิก 4 ก็เหมือนกันนี้แหละ
ปาราชิก 4 ก็เหมือนกันนี้แหละ ไม่มีหย่อนหรือยิ่งกว่านี้. เพราะเหตุนั้น แม้
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนพระธนิยะแล้ว เมื่อจะทรงบัญญัติทุติยปา-
ราชิกด้วยบาทนั่นเทียว จึงตรัสคำว่า โย ปน ภิกฺขุ อทินฺนํ เถยฺยสงฺขาตํ
เป็นต้น.
เมื่อทุติยปาราชิกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทำให้มั่นคงด้วยอำ-
นาจแห่งความขาดมูลอย่างนั้นแล้ว เรื่องรชกภัณฑิกะ แม้อื่นอีกก็ได้เกิดขึ้น เพื่อ

ประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องนั้น พระธรรม-
สังคาหกาจารย์ จึงได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า ก็แล สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มี
พระภาคเจ้า ทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
ใจความแห่งเรื่องนั้น และความสัมพันธ์กันแห่งอนุบัญญัติ พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในปฐมปาราชิกวรรณนานั่นแหละ. ทุก ๆ สิกขาบท ถัด
จากสิกขาบทนี้ไป ก็พึงทราบเหมือนอย่างในสิกขาบทนี้. จริงอยู่ คำใด ๆ ที่
ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในเบื้องต้น ข้าพเจ้าจักละเว้นคำนั้น ๆ ทั้งหมดแล้ว
พรรณนาเฉพาะคำที่ยังไม่เคยมี ในหนหลังที่สูง ๆ ขึ้นไปเท่านั้น. ก็ถ้าว่า
ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำซึ่งมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั้น ๆ ซ้ำอีก, เมื่อไร ข้าพเจ้าจัก
ถึงการจบลงแห่งการพรรณนาได้เล่า ? เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาทั้งหลาย ควร
กำหนดคำที่กล่าวไว้แล้วในก่อนนั้น ๆ ทั้งหมดให้ดี แล้วทราบใจความและ
โยชนาในคำนั้น ๆ. อนึ่ง คำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งยังไม่เคยมี ทั้งมีเนื้อความ
ยังไม่กระจ่าง ข้าพเจ้าเองจักพรรณนาคำนั้นทั้งหมด.
จบปฐมบัญญัติทุติยปาราชิก

เรื่องอนุบัญญัติทุติยปาราชิก


สองบทว่า รชกตฺถรณํ คนฺตฺวา ความว่า ไปสู่ท่าที่ตากผ้าของ
ช่างย้อม. จริงอยู่ ท่านั้น เรียกว่า ลานตากผ้าของช่างย้อม เพราะที่ท่านั้นเป็น
ที่พวกช่างย้อมลาดผ้าตากไว้.
บทว่า รชกภณฺฑิกํ ได้แก่ ห่อสิ่งของ ๆ พวกช่างย้อม. เวลาเย็น
พวกช่างย้อม เมื่อจะกลับเข้าไปยังเมือง ผูกผ้ามากผืนรวมกันเป็นห่อๆ ไว้, พวก
ภิกษุฉัพพัคคีย์ เมื่อช่างย้อมเหล่านั้นไม่เห็น เพราะความเลินเล่อ ก็ได้ลัก
อธิบายว่า ขโมยเอาห่อหนึ่งจากห่อนั้นไป.

[

อรรถาธิบายบ้านที่มีกระท่อมหลังเดียวเป็นต้น

]
คำมีอาทิอย่างนี้ว่า คาโม นาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อ
แสดงประเภทแห่งบ้านและป่า ที่พระองค์ตรัสไว้แล้วในคำนี้ว่า จากบ้านก็ดี
จากป่าก็ดี. ในคำว่า บ้านแม้มีกระท่อมหลังเดียว เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ : -
ในหมู่บ้านใดมีกระท่อมหลังเดียวเท่านั้น ชื่อว่ามีเรือนหลังเดียว
เหมือนในมลัยชนบท บ้านนี้ ชื่อว่า บ้านมีกระท่อมหลังเดียว. บ้านเหล่าอื่น
ก็ควรทราบโดยนัยนั้น. บ้านใดเป็นถิ่นที่ยักษ์หวงแหน เพราะไม่มีพวกมนุษย์
โดยประการทั้งปวง หรือพวกมนุษย์อยากจะกลับมาแม้อีกด้วยเหตุบางอย่าง
ทีเดียว ก็หลีกไปเสียจากบ้านใด, บ้านนั้น ชื่อว่าไม่มีมนุษย์. บ้านใด ที่เขา
ทำกำแพงก่อด้วยอิฐเป็นต้นไว้ โดยที่สุด แม้ล้อมไว้ด้วยหนามและกิ่งไม้,
บ้านนั้น ชื่อว่ามีเครื่องล้อม. บ้านใดที่พวกมนุษย์ไม่ได้ตั้งอาศัยอยู่ ด้วยอำนาจ
เป็นสถานที่พักอยู่รวมกัน ซึ่งใกล้ถนนเป็นต้น แต่สร้างเรือนไว้ 2-3 ตัว หลัง
แล้วเข้าอาศัยอยู่ในที่นั้น ๆ ดุจโคนอนเจ่าอยู่ในที่นั้น ๆ 2-3 ตัว ฉะนั้น